การวางแผนความคุ้มครอง Protection Plan



การวางแผนความคุ้มครอง Protection Plan





               ตามมาตรฐานแนวทาง ทางการจัดสรรแผนการเงิน

แผนแรกเรามาลองวางแผน ในเรื่องที่เป็นฐานของปิรามิด นั่นคือ การโอนความเสี่ยง และ การกำหนดวงเงินฉุกเฉิน
 แผนการโอนความเสี่ยง ได้แก่
     แผนการทำประกันชีวิต ให้เหมาะกับเป้าหมาย เรื่องความคุ้มครองครอบครัว ถ้าคนที่หารายได้หลักของครอบครัวไม่อยู่ ครอบครัว จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายให้เป็นปกติ เรียกว่า
Income Protection
    การคำนวณหามูลค่า ความสามารถ ของมนุษย์
      คุณเดชา รายได้เดือนละ 50,000 บาท ปีละ 600,000 มีโบนัส ปีละ 50,000  รวม 650,000 บาทต่อปี
เป้าหมายทางการเงินต้องการคุ้มครองครอบครัว....จนกว่าลูกคนเล็กเรียนจบ ปริญญาตรี (แปลกมากเพราะส่วนใหญ่ที่เราไปถามเขาจะตอบว่า คุ้มครองต่อสัก 10 ปี กรณีเราไม่อยู่ หรือจนกว่าจะทำงานไม่ได้ หรือเกษียณ) ดังนั้นเวลาเท่ากับที่เหลือการทำงาน = 25 ปี

อัตราเงินเดือนเพิ่มปีละ 5%

ค่าความสามารถนั้น คิดจากจำนวนปีที่เขายังมีแรงทำงานได้อีก คือ อีก 25 ปี
ดังนั้นเงินปลายทางที่เาจะได้รับทั้งหมด เมื่อครบเกษียณ คือ 31ล้านบาท



 ซึ่งเงินจำนวนนี้ถามคุณเดชาว่า มีค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเสื้อผ้า ค่างวดบ้านหลังอบอุ่น ค่างวดรถคันสวย ค่าความฝันของใครอีกหลายคนอยู่ในนั้นไหม ตอบว่าใช่ ถ้าไม่มีเงินจำนวนนั้นเลย พี่คิดว่าครอบครัวจะเดือดร้อนไหม  เดือดร้อน รู้ไหมว่า เงิน 31 ล้านที่จะได้ มันมาจากความรู้ความสามารถ บวกกับเวลา และประสบการณ์การทำงานของพี่
วันนี้จะดีไหม เรามาปลดเอาความสามารถบางส่วนไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลังได้ใช้ยามที่เราจากไป เรามาลองคำนวณเงินที่เราต้องคุ้มครอง เพื่อครอบครัวกันดีไหมครับ

การคิดคำนวณทุนประกันชีวิต ของคุณเดชา เราคิดจากเงินต้นทางของเงิน 31 ล้านนั้น เนื่องจากเราต้องเริ่มคุ้มครองที่ต้นทาง



ดังนั้น เดชา ควรต้องมีวงเงินทุนประกันชีวิตที่  9,619,117 บาท
เยอะพอสมควร แต่มันเป็นหลักของการวางแผนการเงิน แล้วไงต่อ.....ก็หมายเหตุไว้ เพราะฐานปิรามิดในการโอนความเสี่ยงไม่ได้มีเรื่องเดียว และดูข้อมูลลูกค้าว่า
เขามีความคุ้มครองอยู่แล้วเท่าไร
เราก็เอามาหักออก
นอกจากนี้เรายังต้องคำนวณหาความคุ้มครอง กรณีฉุกเฉินที่ต้องใช้เงิน  คำนวณกรณีทุพพลภาพ คำนวณค่ารักษาพยาบาล และโรคร้ายแรง คำนวณประกันภัยบ้าน รถยนต์






แต่ถ้าจะให้ง่ายเมื่อเราทำความเข้าใจที่มาได้แล้ว โปรแกรมคำนวณ Wealthplus 2.2 ก็สามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยแบบฟอร์มของ CFP

แล้วเราก็สรุปหน้านี้ ด้วยแผนการเงิน การโอนความเสี่ยงเป็นเรื่องแรก ส่วนว่าแบบประกันอะไรนั้น ก็แล้วแต่ว่าเราใช้ของบริษัทใด มาเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า ซึ่งจะเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ 

วันนี้เราได้เรียนรู้ว่า คนเรามีเวลา มีความสามารถ และประสบการณ์ สามารถทำงานได้ เมื่อมีรายได้ก็ต้องมีรายจ่าย มันคือภาระทั้งหมดของคนที่ชื่อว่า หัวหน้าครอบครัว จำเป็นที่เขาต้องคุ้มครองค่าความสามารถในการหารายได้นั้นไว้ให้กับครอบครัวยามที่เขาจากไป และค่าความสามารถของเขาถูกเราคำนวณออกมาเป็นตัวเลข ปลายทาง และควรจะคุ้มครองเท่าไร ถูกคำนวณออกมาเป็นตัวเลขต้นทาง
นี่คือความหมายของการโอนความเสี่ยง