ทำไมต้องวางแผนการเงิน why financial planning

ทำไมต้องวางแผนการเงิน  why financial planning



ทำไมต้องวางแผนการเงิน ?

ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกันก่อนว่า การวางแผนการเงินคืออะไร ?

สนใจวางแผนการเงินกับเรา คลิกที่นี่ !

Concept ของคนไทยยุคใหม่ 
"คนไทย หาเงินเก่ง ใช้เงินเป็น เก็บเงินให้อยู่ และรู้ช่องลงทุน"
หาเงินเก่ง ต้องคุ้มครองค่าความสามารถของตนเอง 
คุ้มครองเท่าไร เราสามารถคำนวณตามหลักสากล
ใช้เงินเป็น เราต้องรู้ว่า รับจ่ายเป็นอย่างไร หนี้ไหน ดอกเบี้ย add on หนี้ไหน Flat rate หนี้ไหน ลดต้นลดดอก
            เก็บเงินให้อยู่ หมายถึงเก็บต้นทางจากรายได้ ซึ่งคือเก็บเพื่อเก็บ เก็บเพื่อเป้าหมายสำคัญ 
        รู้ช่องลงทุน ช่องทางนี้เป็นช่องทางใหม่ที่คนไทยต้องหันมาให้ความสนใจ เพราะระบบของธนาคาร มันให้ผลตอบแทนต่ำไป หมดยุคสมัยไปแล้ว 


การวางแผนการเงิน ( Financial Planning )
หมายถึง  กระบวนการวางแผน เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินของแต่ละบุคคลนั่นเอง
         
แล้วทำไม...เราต้องวางแผนการเงินด้วยล่ะ ไม่วางไม่ได้เหรอ ?



ที่เราต้องวางแผนการเงิน เหตุผลก็เพราะว่า...



          1.คนมีอายุ...ยืนขึ้น


           ปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ย  71 ปี  แต่ถ้าเราเก็บสถิติเฉพาะคนไทยที่อายุ  60  ปีขึ้นไป  จะพบว่าท่านเหล่านั้นจะอยู่ได้อีกประมาณ  20  ปี  (  ข้อมูลจากสถาบันประชากรและสังคม ม.มหิดล  )   ดังนั้น  จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า  ช่วงเวลาหลังเกษียณที่ต้องอยู่อีกตั้ง 20 ปี  เราจะอยู่กันอย่างไร  ถ้าไม่มีการวางแผนการเงินที่ดีพอ





          2.โครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป


          เดิมคนไทยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่    ปัจจุบันแยกย้ายกันอยู่  เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การคาดหวังให้ลูกหลานเลี้ยงดู  เป็นเรื่องที่หวังได้น้อยลง  เราจึงต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ





          3.ค่าครองชีพในอนาคตจะสูงขึ้นมาก


          ข้าวของในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นทุกวัน  อีก  20-30  ปีข้างหน้าในวันที่เราเกษียณ  สินค้าที่จำเป็นอาจแพงขึ้นอีก  1-2  เท่าตัว  โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาล  ที่มักมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินเฟ้อเสมอ  ดังนั้นงบประมาณที่เราเตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ  ถ้าไม่ได้คำนวนเผื่อค่าเงินเฟ้อไว้ด้วย





          4.สวัสดิการของรัฐไม่เพียงพอแน่


          ในอีก  15  ปีข้างหน้า  สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ  60  ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น  20%   นั่นหมายความว่า 1 ใน 5 ของคนไทยจะเป็นคนสูงอายุ  ขณะที่สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อคนสูงอายุจะลดลงจาก  6:1  ในปัจจุบันเป็น  3:1  ในปี  2021  ทำให้ภาษีที่รัฐเก็บได้จะไม่เพียงพอต่อการจัดหาสวัสดิการให้คนสูงอายุ  หรือหากทำได้ก็เป็นแบบพื้นๆเท่านั้น





          5.ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความซับซ้อนมากขึ้น


          สมัยก่อนการฝากเงินในธนาคารให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจและมีความมั่นคงสูง  เดี๋ยวนี้ดอกเบี้ยเงินฝากลดน้อยลงมาก  ขณะที่ช่องทางการลงทุนใหม่ๆมีให้เลือกหลากหลายมากขึ้น  แต่ก็มีรูปแบบและความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป  การทำความเข้าใจและรู้จักวางแผนการลงทุนให้ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล  จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น





          6.ทำให้เราสามารถเกษียณอายุได้เร็วขึ้น


          หากมีการวางแผนที่ดีและเริ่มต้นเร็ว  ย่อมบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่า  ไม่ว่าจะเป็นเงินออมที่เก็บได้มากขึ้น  ดอกเบี้ยทบต้นที่สูงขึ้น  หรือการสามารถหาประโยชน์จากโอกาสดีๆที่บังเอิญผ่านเข้ามา  เพราะเรามีเงินออม  เงินก้อนที่เก็บเอาไว้  เช่น  ซื้อที่ดินทำเลสวยจากคนที่ร้อนเงิน  หรือ  ซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาตกลงมามากเกินควร





          7.ช่วยรองรับความเสี่ยงของชีวิตได้มากขึ้น


          ชีวิตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน  เราอาจโชคร้าย  เจ็บป่วย  หรือ  เกิดอุบัติเหตุหนักๆขึ้นได้   แต่ถ้าเรามีการวางแผนการประกันภัยไว้  ย่อมสามารถบรรเทาภาระต่างๆลงได้  หรือ  เราเกิดตกงานกระทันหัน  มีคนในครอบครัวป่วย  การมีเงินเก็บสำรองไว้  ย่อมหลีกเลี่ยงความยุ่งยากจากการต้องไปกู้หนี้ยืมสินเงินกู้นอกระบบลงได้


รู้อย่างนี้แล้ว...เริ่มอยากจะวางแผนการเงินกันขึ้นมาแล้วใช่ไหมคะ?

แต่...เราจะเริ่มได้อย่างไร ไปดูกันค่ะ...


 
ขั้นตอนในการวางแผนการเงิน...มีดังนี้


          1. เริ่มจากการ...กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ทางการเงิน

          ในการวางแผนการเงิน  ควรจะเริ่มจากการมีเป้าหมายก่อนว่า  เราอยากบรรลุเป้าหมายทางการเงินในเรื่องอะไร  และต้องใช้เวลาเท่าไร  เช่น 

          - อยากเกษียณการทำงานตอนอายุเท่าไร  ตอนนั้นอยากมีเงินใช้เดือนละเท่าไร 

          - อยากเตรียมทุนการศึกษาให้ลูกเรียนถึงระดับไหน  ค่าใช้จ่ายเท่าไร  

          - หรืออยากวางแผนจัดสรรมรดกให้ลูกหลาน  ต้องทำอย่างไร



เป้าหมายที่กำหนดขึ้น  อาจเป็นเป้าหมายเดี่ยว  หรือ  เป้าหมายผสมผสานเต็มรูปแบบก็ได้


          2. รวบรวมข้อมูล

           เราต้องรวบรวมข้อมูลทางการเงิน  ทั้งของตนเอง  ครอบครัว  และภาวะรอบล้อมทางเศรษฐกิจ  เพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์  

           เช่น  รายรับ  , รายจ่าย  , ทรัพย์สิน  , หนี้สิน  , ภาระผูกพัน  , ดอกเบี้ย  หรือทิศทางการลงทุนในปัจจุบันและในอนาคต



          3. วิเคราะห์ และประเมินสถานะทางการเงิน

          นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์  เพื่อหาสถานะทางการเงินปัจจุบัน ว่า...ตอนนี้มีเงินเก็บสุทธิเท่าไรแล้ว  ยังขาดอีกเท่าไร   เพื่อที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  และมีทางเลือกอะไรบ้างที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น



          4. จัดทำแผนการเงิน

          หลังจากวิเคราะห์เงื่อนไข และปัจจัยต่างๆแล้ว  ก็ประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด  แล้วเขียนแผนการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเรา  ภายใต้สมมติฐาน และข้อมูลที่รวบรวมไว้



          5. นำแผนไปปฎิบัติ

          ลงมือปฎิบัติตามแผนที่ได้เขียนไว้  ทำอะไรบ้าง ในกรอบเวลาเท่าไร  เช่น  ต้องออมให้ได้เดือนละเท่าไร  ต้องนำเงินไปลงทุนอะไรบ้าง  หรือ  ต้องทำประกันภัยเพิ่มในเรื่องอะไรบ้าง  โดยต้องมีการตรวจทานด้วยว่า  ได้ทำครบพอที่จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่



          6. ติดตาม และกำกับให้เป็นไปตามแผน

          หลังจากปฎิบัติตามแผนแล้ว  ต้องหมั่นตรวจสอบ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่า  ได้ผลตามที่คาดหวังหรือไม่  สมมติฐานที่วางไว้มีการเปลี่ยนไป หรือไม่  อย่างไร และควรจะมีการปรับเปลี่ยนแผนให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไปหรือไม่  ซึ่งโดยทั่วไปเราจะมีการทบทวนแผนการเงินปีละ  1 ครั้ง


และนี่ก็คือ ภาพรวมของการวางแผนทางการเงิน 

อย่างน้อยก็เพื่อให้ทุกท่านมีการจัดการการเงินของตัวเอง และครอบครัวอย่างมีระบบ เราจะได้บรรลุเป้าหมายทางการเงินในชีวิตกันค่ะ  

รู้แบบนี้แล้ว...ไปเริ่มกันเลยดีกว่าค่า ^^